ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยตัวผู้มีขนหงอนบนหัว ขนที่คอหน้าอกและหลังตอนบนมีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน ส่วนล่างของหลังมีสีแดงแกมน้ำตาล ขนหางคู่กลาง 2 คู่มีสีขาว คู่ต่อมาครึ่งด้านในเป็นสีขาว ครึ่งด้านนอกเป็นสีดำ คู่ต่อ ๆ มาสีดำ ส่วนตัวเมียขนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลแกมแดง ขนใต้ท้องสีน้ำตาลแกมดำมีขอบขาว
พบในประเทศบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย บริเวณที่ราบลุ่ม ที่ระดับ 10 – 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อาหารได้แก่ แมลงต่าง ๆ ตัวหนอน ยอดหญ้า พืชอ่อน ๆ เมล็ดพืช และผลไม้บางชนิด
ไก่ฟ้าหน้าเขียวอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ มีตัวผู้เป็นจ่าฝูง หากินตอนกลางวันตามป่าดงดิบชื้นที่ทึบในระดับที่ไม่สูงมากนัก อาจพบใกล้ลำธาร ไม่ค่อยออกมาในที่โล่ง เมื่อเห็นศัตรูจะวิ่งหนีเข้าซ่อนตามพุ่มไม้ บางครั้งจะบินหนีไปใกล้ ๆ แล้วลงเดินวิ่งต่อไป
1. เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 2. อยู่ในสถานะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List (2020)
CLASS : Aves
ORDER : Galliformes
FAMILY : Phasianidae
GENUS : Lophura
SPECIES : Bornean Crested Fireback (Lophura ignita)
ฤดูผสมพันธุ์อาจอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนสิงหาคม ทำรังใต้พุ่มเตี้ย ๆ ที่รกทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใบหญ้าแห้ง ๆ วางไข่ครั้งละประมาณ 4 – 8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 24 – 25 วัน ลูกไก่ฟ้าหน้าเขียว แรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว เมื่อลืมตาลุกขึ้นยืนเดินได้ ก็จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้หลังออกจากไข่ 3 – 4 ชั่วโมง
เป็นนกขนาดกลาง ความยาวลำตัวประมาณ 55 – 70 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560