ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ ไก่ฟ้าหลังขาว และไก่ฟ้าหลังขาวจันทรบูร ตัวผู้มีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ยาวคลุมท้ายทอย ใบหน้ามีแผ่นหนังสีแดง ขนตอนบนของลำตัวส่วนใหญ่และปีกสีขาววาวเหมือนเงิน มีลายเป็นเส้นบาง ๆ สีดำเป็นรูปตัววี (V) อยู่บนขน ตัวเมียมีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่เหมือนกัน แต่มีเพียงเล็กน้อยพอสังเกตเห็นเท่านั้น ขนตามตัวส่วนใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ แข้งสีแดง ไม่มีเดือย
พบในประเทศกัมพูชา จีน พม่า ไทย เวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอาร์เจนตินา บริเวณป่า และทุ่งหญ้า ต่ำกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ดอกหญ้า ใบไม้ ผลไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่มด
มักอาศัยอยู่ตามป่า หากินเป็นคู่ ๆ ไม่อยู่เป็นฝูง หากินตอนเช้าและพลบค่ำ ในเวลากลางคืนจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ หรือกิ่งไผ่
อยู่ในสถานะเป็นกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากการประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ International Union for Conservation of Nature (IUCN) หรือ IUCN Red List (2016)
CLASS : Aves
ORDER : Galliformes
FAMILY : Phasianidae
GENUS : Lophura
SPECIES : Silver Pheasant (Lophura nycthemera)
เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 4 – 6 ฟอง ระยะฟักไข่ 23 – 24 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหาอาหารกินได้เลย
ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นนกขนาดกลาง – ใหญ่ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 50 – 125 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560