ห่านหัวลาย/Bar-headed Goose (Anser indicus)

สิ่งที่น่าสนใจ :

ตัวที่โตเต็มวัยแล้วมีร่างกายส่วนใหญ่ เป็นสีเทาอ่อน หัวสีขาวมีแถบสีดำพาดจากหางตาขึ้นไปที่กระหม่อม และมีแถบสีดำอีกเส้นหนึ่งที่ท้ายทอย คอสีเทาเข้มและมีแถบสีขาวตามแนวยาวของคอต่อกับสีขาวของหัว สีข้างเป็นลายขวางสีดำ หางสีขาวและตรงกลางคาดแถบสีเทา ปากสีส้มถึงเหลือง นิ้วสีเหลือง ตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยมีสีเทาเช่นเดียวกับตัวที่โตเต็มวัย แต่บริเวณกระหม่อมและท้ายทอยออกเป็นสีดำ ซึ่งจะตัดสีของหน้าผากที่เป็นสีออกขาว ด้านข้างของหัวและลำคอส่วนที่เหลือเป็นสีจาง ไม่มีลายขีดขวางที่สีข้าง ด้านล่างลำตัวมีลายแต้มสีสนิม

ถิ่นอาศัย :

พบในเอเชียตอนกลาง จีนตอนเหนือ พม่า และไทย พบตามแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบ

อาหาร :

ห่านหัวลายมักกินเมล็ดข้าว ข้าวโพด ข้างฟ่างซึ่งทำความเสียหายให้แก่ชาวนาชาวไร่พอสมควร นอกจากนี้ยังกินหญ้าและยอดอ่อนของพืชด้วย

พฤติกรรม :

อาศัยอยู่เป็นฝูงตามแม่น้ำหรือแหล่ง น้ำจืดขนาดใหญ่ บางฝูงอาจมีถึง 100 ตัว กลางวันมันจะยืนพักผ่อนนอนหลับตามชายน้ำ พอพลบค่ำจึงออกหากิน

สถานภาพปัจจุบัน :

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของห่านหัวลาย ยังไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย

ขนาดและน้ำหนัก :

เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ 76 ซม.

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2560