ลักษณะร่างกายของคาปิบาราเป็นการวิวัฒนาการของสัตว์บกที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในน้ำ เช่น การมีแผ่นหนังระหว่างนิ้วเท้าเพื่อการเคลื่อนที่ในน้ำและพื้นโคลน ส่วนตาและจมูกจะวางอยู่ด้านบนของหัวที่มีขนาดใหญ่ ช่วยให้คาปีบาราสามารถเห็นพื้นที่รอบข้าง และหายใจในช่วงการว่ายน้ำได้ ดำน้ำได้นานประมาณ 5 นาที ขนเส้นเล็กหยาบที่ช่วยให้ขนแห้งไว
คาปิบาราเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่บนบก แต่ใช้เวลาไม่น้อยในแต่ละวันอยู่ในน้ำ ถิ่นที่อยู่จะเป็นสระน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบในพื้นที่ป่าดิบชื้นหรือทุ่งหญ้าและป่าโปร่งซาวันนา
เป็นสัตว์สังคมที่มีการอยู่รวมกับคาปิบาราตัวอื่นๆ เป็นรวมกลุ่มของหลายๆ ครอบครัวมารวมกันโดยมีจำนวนสมาชิกรวมกันประมาณ 10-20 ตัว โดยจะมีเพศผู้ที่เป็นจ่าฝูง และสมาชิกจะประกอบด้วยเพศเมียและลูกๆ รวมทั้งเพศผู้อันดับรองลงมาด้วย โดยตัวผู้ลำดับรองจะอยู่ในพื้นที่วงนอกของฝูง เพื่อเป็นตัวคอยเตือนภัยให้สมาชิกในฝูงรู้ว่ามีสัตว์ผู้ล่ากำลังใกล้เข้ามา กลุ่มของคาปิบารามักจะประกอบด้วยจ่าฝูงและเพศเมียสองตัว โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอคือเพศผู้ลำดับรองจะตกเป็นสัตว์เหยื่อของสัตวผู้ล่า ตัวผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธู์จะถูกไล่ให้ไปอยู่วงนอกของฝูงเพื่อเป็นตัวระวังภัยแทน ตัวจ่าฝูงจะเป็นตัวที่ได้ผสมกับตัวเมียในฝูงและลดความเสี่ยงจากสัตว์ผู้ล่า
CLASS : Mammalia
ORDER : Rodentia
FAMILY : Caviidae
GENUS : Hydrochoerus
SPECIES : Capybara (Hydrochoerus hydrochaeris)
-โตเต็มวัย อายุ 18 เดือน -อายุขัยเฉลี่ย 6-12 ปี
การผสมพันธุ์ของคาปิบาราจะเกิดในน้ำ ช่วงการตั้งท้องประมาณ 5 เดือน ออกลูกครั้งละ 4-5 ตัว โดยมีเพศเมียตัวอื่นๆ ช่วยดูแล ลูกคาปีบาราจะยังว่ายน้ำไม่เป็น ต้องหลบตามพุ่มไม้ ซึ่งเป็นโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์ผู้ล่า เช่น หมาจิ้งจอก แร้ง
ความสูงช่วงไหล่เฉลี่ย 50 เซนติเมตร ความยาวจากปลายจมูกถึงโคนหางเฉลี่ย 130 เซนติเมตร น้ำหนักอยู่ในช่วง 35- 70 กิโลกรัม ทำให้คาปีบาราเป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560